Last Updated on 06/26/2024 by rromruns
ตลาด organ-on-chip หรือชิปที่จำลองอวัยวะของมนุษย์สำหรับใช้เพื่อทดสอบยาใหม่ ๆ คาดจะโต 10 เท่า ถึง 47 ล้านล้านบาทภายใน 2032
ความต้องการของชิปกลุ่มนี้กำลังเพิ่มสูงขึ้นเป็นจรวดเลยทีเดียว เหตุจากรัฐบาลหลาย ๆ ประเทศ เริ่มจำกัดการทดลองยาต่าง ๆ กับสัตว์ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับการคิดค้นตัวยาใหม่ ๆ
กลุ่มอุตสาหกรรมการค้นคว้าตัวยาใหม่ ๆ ถือเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของเทคโนโลยี organ-on-chip เพราะสามารถใช้จำลองการทำงานของอวัยวะมนุษย์ได้ สำหรับใช้ทดสอบปฏิกิริยากับตัวยาใหม่ ๆ นั่นเอง และนอกเหนือจากตลาดกลุ่มนี้ ในตลาดอื่น ๆ ก็เริ่มมีความต้องการ และความสนใจในเทคโนโลยีตัวนี้มากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
ภายในตัวชิปนั้นมีการจำลองอวัยวะหลาย ๆ ส่วนของร่างกายมนุษย์เอาไว้ด้วยกัน ทำให้สามารถที่จะเรียนรู้การตอบสนองได้หลากหลายส่วนเสมือนเป็นร่างกายมนุษย์จริง ๆ และนอกเหนือจากเรื่องของยาแล้ว กลุ่มเครื่องสำอางก็ต้องใช้การทดลองลักษณะนี้ด้วยช่นเดียวกัน เพื่อตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์มีผลกับร่างกายของเรายังไงบ้างก่อนวางจำหน่าย
ยังไม่หมดเท่านั้น ยังมีกลุ่มพิษวิทยา กลุ่มการวิจัยสเต็มเซลล์ และแม้แต่การศึกษาฟื้นฟูเนื้อเยื่อ ก็ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีตัวนี้เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
แน่นอนว่าเรายังไม่ได้ถึงระดับที่จะสามารถเปลี่ยนชิปสำหรับตับอ่อนของเราได้ด้วยการผลิตจาก Intel หรือ TSMC แต่ก็ช่วยให้เราได้เห็นการตีพิมพ์ข้อมูลผลงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือใช้เทคโนโลยีตัวนี้ให้เราได้ทราบกัน อย่างข้อมูลจากสถาบันด้านเทคโนโลยีชีวภาพ National Center for Biotechnology Information
ด้วยความล้ำหน้าเหล่านี้ เราได้เห็นบริษัทสตาร์ตอัปสวิสสามารถสร้างโปรเซสเซอร์ชีวภาพ หรือชิปที่ทำงานได้ด้วยสารอินทรีย์ในสมองของมนุษย์ 16 ชนิด หรือ Elon Musk ที่มีบริษัท Neuralink ปลูกถ่ายระบบการเชื่อมต่อเข้ากับสมองของมนุษย์ และมีผู้ทดลองรายแรกที่สามารถเลื่อนเคอร์เซอร์เมาส์ด้วยสมอง หรือเล่นเกม Civilization IV ได้ด้วยการใช้ความคิดจากสมองเท่านั้น แล้วก็ยังมีบริษัทจีน Beijing Xinzhida Neurotechnology ที่นับเป็นคู่แข่ง เปิดตัวระบบ Neucyber เทคโนโลยีการปลูกถ่ายระบบเชื่อมต่อกับสมองเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา
ที่มา ibit.ly/egOa8