ทีมนักวิจัยพัฒนาการเก็บข้อมูลใหม่ DNA ใช้พื้นที่น้อย เก็บได้นาน

Last Updated on 07/15/2024 by rromruns

Genomika และมหาวิทยาลัย Ultrasound Research Institute at Kaunas University of Technology (KTU URI) กับพันธมิตรอีกหลายเจ้ากำลังร่วมกันพัฒนาโปรเจกต์ไดรฟ์เก็บข้อมูลจากเทคโนโลยี DNA

โครงการนี้คือ DNA Microfactory for Autonomous Archiving (DINAMIC) ตั้งเป้าในการเป็นโซลูชันการจัดเก็บข้อมูลที่มีความหน้าแน่นสูง เสถียร และสามารถใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้

โดยได้รับเงินทุนจาก European Commission ผ่านโครงการ European Innovation Council (EIC) Pathfinder Program ที่ตั้งเป้าให้มีบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเทคโนโลยีเดิมต่าง ๆ ในปัจจุบัน

DNA

Ignas Galminas ผู้ก่อนตั้ง Genomika บอกว่า การจัดข้อมูลแบบ DNA นี้ จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเรื่องขนาดพื้นที่ และยังช่วยลดการใช้น้ำสำหรับระบายความร้อน data center ลดการใช้งานแร่โลหะหายากสำหรับการผลิต SSD และเพิ่มความแสถียรกับอายุการใช้งานได้มากขึ้นด้วย

ประชากรโลกสร้างข้อมูลจำนวนถึง 120 zettabytes ในปี 2023 ที่ผ่านมา หรือคิดเป็น 1,200,000,000 terabytes หรือเทียบเท่ากับ SSD ขนาด 8TB จำนวน 150,000,000 ลูก และคาดว่าขนาดจะเพิ่มขึ้นอีกปีละ 20% โดยเฉพาะกับการมาของ AI ที่ทำให้มีการสร้างข้อมูลเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องหาโซลูชันสำหรับเก็บข้อมูลในระยะยาวมาช่วย

สำหรับไดรฟ์ DNA นั้น จะใช้ nucleobases 4 ตัว คือ cytosine [C], guanine [G], adenine [A], and thymine [T] มาเก็บข้อมูล 1 และ 0 เหมือนการเก็บข้อมูลดิจิทัลในปัจจุบัน ซึ่งจุดเด่นคือสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากได้โดยใช้ขนาดที่เล็กมาก ๆ เล็กกว่าสื่อเก็บข้อมูลดิจิทัลแบบเดิม ๆ แถมยังเสถียรมาก ๆ และเก็บข้อมูลได้นาน

คาดว่าจะถูกเริ่มนำเอามาใช้ในด้านวงการดูแลสุขภาพก่อน ซึ่งเป็นกลุ่มสำหรับข้อมูลต่าง ๆ ของคนไข้ และต้องสามารถเข้าถึงได้ตลอดชีวิตของคนไข้แต่ละราย ส่วนกลุ่มวงการอื่น ๆ ก็น่าจะมีอเอามาเริ่มใช้งานตามกันต่อ ๆ ไป เพราะอย่างที่บอกว่าช่วยในเรื่องการลดการใช้น้ำ และแร่ต่าง ๆ ด้วย

ที่มา ibit.ly/uHJOF

Facebook
Facebook
YouTube
Instagram