เตรียมตัวติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger) ที่บ้านอย่างไร ? มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

Last Updated on 12/27/2024 by admin

เตรียมตัวติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger) ที่บ้านอย่างไร ? มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

การใช้งานรถไฟฟ้า แน่นอนว่าการชาร์จไฟก็เป็นเรื่องที่ต้องทำเป็นเรื่องปกติ ซึ่งการที่เราได้ชาร์จไฟรถไฟฟ้าที่บ้านก็จะเป็นเรื่องที่สะดวกสบาย โดยในส่วนของ EV Charger แบบ AC จำเป็นต้องติดตั้งเพิ่มเติม จะเป็นการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ ผ่านอุปกรณ์ตัวแปลง หรือ อุปกรณ์ Inverter เพื่อเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงเพื่อชาร์จประจุในแบตเตอรี่ มีความเร็วในการชาร์จ 32A

โดยทั่วไปการชาร์จผ่านทาง EV Charger แบบนี้เหมาะสำหรับการชาร์จที่บ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งจะต้องมีการเตรียมตัวติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน เพราะต้องประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญหลายประการ เพื่อให้การติดตั้งเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ที่แม้ว่าบางกรณีจะมีบริการในการติดตั้งมากับเครื่องชาร์จที่แถมหรือซื้อมาอยู่แล้ว แต่เราก็ควรรู้ข้อมูลเหมือนกัน มาดูกันว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง ?

1. ตรวจสอบระบบไฟฟ้าในบ้าน
– ตรวจสอบว่ามิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านมีขนาดเพียงพอหรือไม่ โดยทั่วไปควรมีขนาด 30 (100)A 1P 2W หรือ 15 (45)A 3P 4W ขึ้นไป
– สายไฟเมนเข้าบ้านต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับการใช้งานเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดยปกติควรมีขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร

2. เตรียมตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)
– ติดตั้ง Miniature Circuit Breaker (MCB) เพื่อแยกช่องจ่ายไฟสำหรับเครื่องชาร์จโดยเฉพาะ และต้องรองรับกระแสไฟได้สูงสุดไม่เกิน 100 แอมป์
– ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว (RCD) เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟไหม้ กรณีกระแสไฟฟ้าไหลเข้า-ออกไม่เท่ากัน

3. เลือกตำแหน่งติดตั้งเครื่องชาร์จ
– เลือกตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งควรเลือกตำแหน่งที่สะดวกต่อการชาร์จรถไฟฟ้าและไม่กีดขวางการใช้งานอื่นๆ ในบ้าน
– เป็นไปได้ควรเลือกตำแหน่งที่สามารถเดินไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ได้ยุ่งยากน้อยสุด รวมถึงไม่โดนแดดโดนฝน

4. ติดต่อช่างเทคนิค
– ประเมินโหลดไฟ ติดต่อช่างเทคนิคเพื่อประเมินว่าโหลดไฟในบ้านสามารถรองรับการติดตั้งเครื่องชาร์จได้หรือไม่
– ติดตั้งเต้ารับ EV Charger เต้ารับควรเป็นแบบ 3 รู และใช้หลักดิน (สายดิน) ใหม่ที่แยกจากหลักดินของระบบไฟฟ้าบ้าน

5. ติดต่อการไฟฟ้า
– หากมิเตอร์ไฟฟ้าเดิมไม่เพียงพอ ขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ สามารถขอเพิ่มขนาดมิเตอร์หรือขอติดตั้งมิเตอร์ลูกที่ 2 ได้
– ติดตั้งเพิ่มเป็นมิเตอร์ไฟฟ้า TOU (Time of Use Meter) เพื่อจะได้เหมาะสมกับการใช้งานชาร์จไฟรถไฟฟ้า

การเตรียมตัวและติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านอาจดูซับซ้อน แต่หากทำตามขั้นตอนข้างต้นและปรึกษาช่างเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญ จะช่วยให้การติดตั้งเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย อย่างไรก็ตามในส่วนการติดตั้งนี้ อาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับว่าบริการนี้คิดรวมอยู่ในเครื่องชาร์จรถไฟฟ้านี้หรือยัง เพราะบางกรณีก็จะรวมไปหมดแล้ว แต่ก็ยังไม่รวมอื่นๆ ที่นอกเหนือเงื่อนไข

ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นสำหรับคนที่ซื้อเฉพาะเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า ก็ต้องอยู่ที่อุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องซื้อเพิ่มเพื่อติดตั้ง และอุปกรณ์นั้นๆ เป็นเกรดไหนแบรนด์อะไร รวมไปถึงอัตราค่าบริการของแต่ละช่างก็ไม่เท่ากัน ซึ่งถ้าเป็นทีมงานช่างที่มีความชำนาณเป็นพิเศษ ราคาก็อาจจะสูงหน่อย ซึ่งอาจจะมีราคาอยู่ในช่วงตั้งแต่ไม่เกิน 10,000 บาท จนไปถึง 20,000 บาท ก็เป็นไปได้ ฉะนั้นเราก็ต้องเผื่องบไว้ด้วย

Facebook
Facebook
YouTube
Instagram