Last Updated on 02/01/2025 by admin
การชาร์จด้วย AC Charger ดีกว่าการชาร์จ DC Charger สำหรับรถไฟฟ้าอย่างไรบ้าง ?
รถไฟฟ้า (BEV: Battery Electric Vehicl) กลายเป็นตัวเลือกในการซื้อซื้อรถยนต์มาใช้งานในยุคนี้ ทั้งเรื่องเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า การประหยัดค่าใช้จ่าย และยังช่วยส่งเสริมความยั่งยืนและลดการปล่อยคาร์บอน หนึ่งในปัจจัยสำคัญของเทคโนโลยีรถไฟฟ้าคือวิธีการชาร์จ ซึ่งสามารถชาร์จด้วย AC Charger (ไฟฟ้ากระแสสลับที่ต้องใช้ออนบอร์ดของรถแปลงเป็น DC อีกครั้ง) และ DC Charger (ไฟฟ้ากระแสตรงที่ตู้ชาร์จเองได้ทำการแปลง AC เป็น DC เรียบร้อยแล้ว) แม้ว่าวิธีการทั้งสองจะมีข้อดีคนละแบบ แต่บทความนี้จะอธิบายถึงการที่การชาร์จด้วย AC Charger ว่าเป็นประโยชน์มากกว่า DC Charger สำหรับรถไฟฟ้าอย่างไรบ้าง
1. AC Charger สะดวกกว่าในการใช้งาน
– AC Charger มักถูกติดตั้งไว้ที่บ้านที่เราอยู่อาศัย ทำให้สะดวกสำหรับการชาร์จในชีวิตประจำวันเป็นกิจวัตร อย่างการกลับถึงบ้านแล้วชาร์จไว้ 1 คืน เมื่อถึงเวลาเช้าที่ต้องมาออกไปทำงาน รถไฟฟ้าก็พร้อมด้วยแบตเตอรี่ที่เต็ม 100% โดยที่ระหว่างวันไม่ต้องเสียเวลาไปหา DC Charger อื่นๆ ตามสถานีข้างนอกเลย เพื่อต่อคิวหรือจองคิวกับคนอื่นๆ
2. AC Charger อัตราค่าไฟฟ้าถูกกว่า
– ค่าไฟบ้านจากการใช้ AC Charger มีราคาที่ถูกกว่า DC Charger เพราะมีค่าไฟต่อหน่วยในราคาที่ถูกกว่าหลายเท่าตัว ส่งผลทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการชาร์จไฟ ซึ่งก็รวมอยู่ในค่าไฟบ้านปกติ ยกตัวอย่างเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ถ้าใช้ AC Charger ชาร์จไฟที่บ้านอย่างเดียวตกกิโลเมตรละไม่ถึง 1 บาท ถ้า DC จะอยู่ที่ราวๆ 2 บาทขึ้นไป
3. AC Charger ถนอมแบตเตอรี่มากกว่า
– การชาร์จด้วยไฟฟ้าแบบ AC Charger จะชาร์จได้ช้ากว่าการชาร์จด้วย DC Charger ซึ่งเป็นข้อดีสำหรับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ อัตราการชาร์จที่ช้ากว่าสร้างความร้อนน้อยลงและลดความเครียดต่อเซลล์แบตเตอรี่ ทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ยาวนานขึ้น ช่วยรักษาประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ตลอดเวลาและลดความเสี่ยงของการเสื่อมสภาพ
4. AC Charger ชาร์จไฟฟรีจากโซลาร์เซลล์
– AC Charger สามารถรวมเข้ากับแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้อย่างง่ายดาย เช่น โซลาร์เซลล์แบบออนกริด เป็นการรวมพลังงานจากแสงอาทิตย์ สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดและลดการพึ่งพาแหล่งพลังงานที่ไม่หมุนเวียนอย่างของการไฟฟ้า อย่างเช่นตอนกลางวันเราก็สามารถชาร์จรถไฟฟ้าโดยที่ไม่ต้องเสียเงินเลย (กรณีพลังงานสร้างมาเกิน )
5. AC Charger ติดตั้งได้ในราคาที่ถูกกว่า
– การติดตั้ง AC Charger มีราคาถูกกว่าการติดตั้ง DC Charger โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษหรือสายไฟความจุสูง ทำให้เป็นทางออกที่คุ้มค่าสำหรับทั้งตามบ้านใช้ส่วนตัวในครอบครัว และธุรกิจที่เป็นออฟฟิศหรือสำนักงาน ซึ่งงบประมาณในการติดตั้ง AC Charge อยู่ที่ราวๆ 50,000 บาท แต่ถ้าเป็น DC Charger งบจะอยู่ที่หลักเป็นล้านบาทเลย
แม้ว่าวิธีการชาร์จด้วย AC Charger และ DC Charger จะมีข้อดีเฉพาะตัว แต่การชาร์จด้วย AC Charger พิสูจน์ได้ว่ามีประโยชน์มากกว่าในแง่ของการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน การยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ ประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น และความยั่งยืน สำหรับเจ้าของยานยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่ชาร์จยานยนต์ที่บ้านหรือใช้จุดชาร์จสาธารณะเป็นประจำ การชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสสลับเป็นทางออกที่สะดวก คุ้มค่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม